ทุ่งนาบ้านเรา - นาข้าว จังหวัดเพชรบูรณ์
ทริป "เพชรบูรณ์" - "เขาค้อ" ของเรา ก็จบลงที่ตรงนี้ หลังจากออกจาก "วัดท่าซุง" แวะซื้อของฝาก ที่ร้าน "จ่าวิรัช" แล้วก็ดิ่งกลับบ้าน
ระหว่างทาง ผ่านท้องทุ่งนาสวยงาม เลยขอสมาชิก แวะเก็บภาพสักนิดนึง เพื่อภาพท้องนาสวยๆ ของบ้านเรามาฝากกันค่ะ
นาข้าว เขียวขจีนี้ ออกจากวัดท่าซุงไม่ไกลเลยค่ะ ดังนั้น ก็จะยังอยู่ในเขตจังหวัดอุทัยธานี เลยเก็บข้อมูลการทำนาข้าวของชาวจังหวัดอุทัยธานีมาฝาก
การทำการเกษตรของจังหวัดอุทัยธานีส่วนใหญ่ ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน
ในเขตที่อาศัยน้ำฝนจะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด ถั่วเหลือง
จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ทำนาทั้งหมด 867,317 ไร่ จำนวนเกษตรกร 41,004 ครัวเรือน ซึ่งเป็นนาแปลงใหญ่ทั้งหมด 22 แปลง พื้นที่ 31,573 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วม 1,659 ราย
โดยกลุ่มนาแปลงใหญ่สหกรณ์สว่างอารมณ์ เป็นหนึ่งในนาแปลงใหญ่ที่ศูนย์เมล็ดพ้นธุ์ข้าวชัยนาท กรมการข้าว ดูแลและรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว
ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตข้าว เพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการ การผลิตข้าวของชุมชนแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การจัดการ คุณภาพ และการจัดการด้านการตลาด
เพื่อให้ชุมชน มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมการข้าว อ่านเพิ่มเติม "คลิก"
สภาพการทำการเกษตรของจังหวัดอุทัยธานี แบ่งเป็น 2 เขตใหญ่ๆ ตามลักษณะการชลประทาน คือ
1. เขตชลประทาน ส่วนใหญ่จะทำนาเป็นหลัก และจะมีการปลูกไม้ผล พื้ชผัก และพืชไร่ อายุสั้น เป็นบางพื้นที่ ได้แก่ เขตอำเภอเมือง หนองฉาง ทัพหัน หนองขาหย่าง สว่างอารมณ์ ลานสัก
2. นอกเขตชลประทาน พื้นที่ส่วนใหญ่จะทำนาและปลูกพืชไร่ โดยอาศัยน้ำฝน ได้แก่ ในเขตอำเภอบ้านไร หัวยคต และทัพทัน และบางส่วนของอำเภอลากสัก สว่างอารมณ์ หนองขาหย่าง
และห้วยคต
ขอบคุณข้อมูลจากเกษตรอุทัยธานี อ่านเพิ่มเติม "คลิก"
ดูท้องนา ที่เพิ่งมีต้นกล้าเขียวๆ เต็มท้องนานะคะ สีอ่อนเข้มลดหลั่นกัน สร้างความสวยงามได้อย่างดียิ่ง
เนื่องจากเราเป็นประเทศเกษตรกรรม และก็ทานข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ก็มีวิธีการทำนาที่แตกต่างกันที่แบ่งตามปัจจัยหลัก 2 ประการคือ
1. สภาพพื้นที่ (ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ) และภูมิอากาศ
2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา
ฤดูการทำนาจะการทำนาในฤดู และนอกฤดู ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนนี้ผ่านไป ข้าวที่ปักดำ
หรือหวานไว้จะสุกงอมเด็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว
ส่วนนาข้าวนอกฤดูหรือนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะเก็บเกี่ยวได้
การทำนามีหลักสำคัญก็คือ
1. การเตรียมดิน - การไถดะ การไถแปร การคราด
2. การปลูก - นาหยอด นาหว่าน นาดำ
3. การเก็บเกี่ยว
4. การนวดข้าว
5. การเก็บรักษา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิข้าวไทย อ่านเพิ่มเติม "คลิก"
วิธีการทำนาไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม "คลิก"
เห็นทุ่งนาข้าวไทยแบบนี้ เคยสงสัยกันบ้างมั๊ยคะ ว่าพันธุ์ข้าวที่เราปลูก ที่เรารับประทานกันทุกวัน มีข้าวพันธุ์อะไรบ้าง เมื่อเกิดคำถาม เกิดความสงสัย ก็เลยลองค้นหาดู โอ้โห... พบว่าพันธุ์ข้าวไทย มีมากมายเลยค่ะ
จากวิกิพีเดีย ให้ข้อมูลว่า พันธุ์ข้าวไทยมีหลายชนิด แบ่งได้หลายอย่าง เช่น แบ่งตามนิเวศการปลูก แบ่งตามการตอบสนองของช่วงแสน ธัญพืชเมืองหนาว หรือข้าวเฉพาะถิ่น เช่น
1. พันธุ์ข้าวนาสวนที่ไวต่อช่วงแสง ก็ต้องค้นหาอีกว่า หมายถึงอะไร - พันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ก็คือข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ดังนั้นข้าวที่ปลูกในไทยที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาที จึงเป็นข้าวที่ มีความไวต่อช่วงแสงน้อย (less sensitive to photoperiod) ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 1 ชั่วโมง 10-20 นาที เป็นพันธุ์ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงมาก (Strongly sensitive to photoperiod) จึงปลูกได้ปีละหนึ่งครั้ง (ข้อมูลจากห้องสมุดข้าวไทย)
2. พันธุ์ข้าวนาสวนที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
3. พันธุ์ข้าวญ๊่ปุ่น
4. พันธุ์ข้าวบาร์เลย์
5. พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง
6. พันธุ์ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง
7. พันธุ์ข้าวน้ำชึกไม่ไวต่อช่วงแสง
8. พันธุ์ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง
9. พันธุ์ข้าวไร่ไม่ไหวต่อช่วงแสง
10. พนธุ์ข้าวหอมแดงไวต่อช่วงแสง
11. พันธุ์ข้าวหอมแดงไม่ไหวต่อช่วงแสง
12. พันธุ์ข้าวสาลี
อ่านไปยิ่งงงหนัก ต้องการอ่านเพิ่มเติมกัน "คลิก" เลยค่ะ
จะหาชื่อพันธุ์ข้าว ก็ไปเจอข้อมูลแบบนักวิชาการสุดๆ แล้วชื่อเรียกพันธุ์ข้าวแบบชาวบ้านๆ ที่เรียกกันทั่วไปละ จะมีหรือเปล่า - เราก็ค้นหากันต่อไป ก็ไปเจอมาว่ามีชื่อต่อไปนี้ ลองดูนะคะ คุ้นชื่อ หรือรู้จักชื่อพันธุ์ข้าวชนิดใดบ้าง
1. ข้าวขาว ตระกูลข้าวหอมมะลิ ที่เป็นที่นิยมมากสุดของไทย และสายพันธุ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับข้าวของประเทศไทยก็คือ "ข้าวหอมมะลิ 105" เป็นข้าวที่นุ่ม และมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย จากนั้นก็ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ข้าวเหลืองประทิวชุมพร ข้าวเสาไห้
2. ข้าวเพื่อสุขภาพ ก็เป็นกลุ่มของ ข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ และกลุ่มของข้าวที่มีสีม่วงหรือสีดำ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นอย่างดี เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวมันปู ข้าวสังข์หยดพัทลุง
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และให้ผลได้ดียิ่งๆ ขึ้น
ปัจจุบันข้าวที่มีชื่อเสียง ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพช่วยเรื่องเบาหวานได้ ก็คือ ข้าว กข 43
จากนั้นก็ยังข้าวเหนียวสายพันธุ์ต่างๆ เช่น พันธุ์ กข 6 ที่เป็นที่นิยมสูงสุด ปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอิสาน ข้าวเหนียวเขาวง อิสาน ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ทางเหนือ และข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำ หรือว่าเป็นพญาข้าวเลย
เป็นไงบ้างคะ จะชมท้องนาเขียวขจีสวยๆ ให้เพลินตา เพลินใจซะหน่อย จัดข้อมูลมาซะเยอะเลย แหะ แหะ
ค้นไปค้นมา ก็ Go So Big คือไปกันใหญ่เลย งั้นขอจบเรื่องข้าวไว้ตรงนี้ก่อน
ใครเกิดนึกสงสัยมากกว่านี้ ก็ลองค้นหา แล้วนำมาฝากกันบ้างนะคะ
ตอนนี้ เราไปชมนาข้าวเขียวๆ กันต่อค่ะ
เห็นนาข้าวเขียวขจี ก็ดีใจ เพราะเท่ากับว่า ฝนฟ้า และน้ำท่าปีนี้ จะต้องอุดมสมบูรณ์เนอะ
เมื่อกดภาพได้อย่างรวดเร็วแล้ว ก็รีบขึ้นรถ เพราะเกรงใจผู้ร่วมขบวนมาด้วย ขอขอบคุณที่ยอมให้เราจอดรถ รอในรถให้เราลงมาเก็บภาพนะคะ
ไว้มีโอกาส เราค่อยขับรถคนเดียว แวะเก็บภาพนานๆ ตามใจตัวเองเนอะ
สำหรับวันนี้ สำหรับทริป "เพชรบูรณ์" - "เขาค้อ" ก็จบลงที่ตรงนี้
แล้วตามไปเที่ยวกับเราอีกนะคะ
เรื่องและภาพโดย goodysite
www.goodysite.com