ออกเดินทางจาก "บุรีรัมย์" ที่แยก "ภัทรบพิตร" เพื่อเดินทางสู่ "อำเภอเฉลิมพระเกียรติ" ตามรอย "อุทยานประวัติศาตร์พนมรุ้ง"
ผ่านถนนสายภูเขา สายท้องนาเขียวขจี เพื่อไปยังที่พัก ที่ค้นหาเจอผ่านอินเตอร์เนต
ที่พักระบุว่าอยู่ "อำเภอประโคนชัย" ซึ่งอยู่ไม่ไกลจาก "ปราสาทพนมรุ้ง" ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
แล้วก็กด "ระบบนำร่อง" ให้พาไป
ดูสิคะ ว่ามีอะไรบ้างขนานเส้นทาง ที่จะไปถึงธงที่ปักไว้ - เชื่อใจกันเกินไปละ ...
สองข้างทางจะมีแต่ต้นไม้ ป่าเขาและเพื่อนร่วมทางแบบนี้
และแ่ล้วเราก็ไปถึงจุดหมายของธงที่ปักไว้ "พี แอนด์ พี รีสอร์ท"
โล่งใจ เพราะกว่าจะมาถึง ก็ใจตุ้มต่อมไปหลายตลบนะคะ
ทันทีที่รถจอดหน้าที่พัก เด็กๆ วิ่งกรูมาต้อนรับสองสามคน แต่พอเราลงจากรถเท่านั้น เด็กหยุดกึก แล้วกระซิบถามกันว่า
"เอ้ย.. พูดไทยได้ป่าวเนี่ย" .. เราก็นึกขำทันที เพราะ ... ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ไปเที่ยวที่ไหน ใครมักทักว่าเป็นต่างด้าว
เอ้ย.. ต่างชาติซะงั้น ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต อยุธยา ชลบุรี และแม้กระทั่งที่ "สถานีรถไฟบุรีรัมย์" ที่เพิ่งไปมาหยกๆ ???
อาจเป็นเพราะ หน้าตา ละม้ายไปทางต้นกำเนิดเชื้อสายจีน และ "มาคนเดียว" มัง ... คนไทยคงไม่ค่อยมาคนเดียวแบบนี้เนอะ
ติดต่อสอบถาม เช็คอินเรียบร้อย ก็เดินสำรวจที่พักสักนิดหน่อย
มุมนี้ ถูกใจจัง.. มุมซิงค์ล้างจานเล็กๆ แต่มีหน้าต่างที่เห็นท้องนาเขียวขจี มีลมพัดอ่อนๆ ผ่านห้องได้
และนี่ วิวที่ระเบียงหน้าที่พัก เขียวขจี ชื่นตา ชื่นใจดีมั๊ยล่า...
เพลิดเพลินได้สักพัก ตะวันก็เตรียมจะลับฟ้า
สีสันและบรรรยากาศของท้องฟ้า เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
แต่ก็ให้ความสวยงามไม่แพักัน
ชอบแบบไหนมากกว่ากันละคะ
"อำเภอประโคนชัย" เดิมคือเมืองตะลุง อยู่ที่บ้านตะลุงเก่า ตำบลโคกม้า และอพยพย้ายมาอยู่บริเวณเนินกลางทุ่งประโคนชัย
และก่อตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2440 เป็นชัยภูมิเหมาะแก่การตั้งเมือง มีคลองน้ำธรรมชาติได้แก่ห้วยตะโก และห้วยด้ามมีด
ล้อมรอบเนินบริเวณนี้ คำว่า "ตะลุง" หมายถึง เสาใหญ่ หรือ เสาหิน สำหรับผูกช้าง (ซึ่งเชื่อกันว่า ร.1 ทรงผูกช้าง
หลังกลับจากการทำสงครามกับเขมร ณ บริเวณวัดโคน อำเภอประโคนชัย) เมื่อ ร.ศ.116 เมืองตะลุงได้ตั้งเป็นอำเภอชื่อ
"อำเภอประโคนไชย" ในปี 2460 เปลี่ยนเป็น "อำเภอตะลุง" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "อำเภอประโคนชัย" คำว่าประโคนชัย
เพี้ยนมาจากคำว่า "ปังกูล" ในภาษาเขมรที่แปลว่า เสาหิน ในปี 2482 ปัจจุบันอำเภอประโคนชัย ครบรอบ 120 ปี
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 และ คำว่า "ประโคน" ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายนามสกุล เป็นต้นกำเนิดนามสกุลคนประโคนชัย
และยังเป็นคำต่อท้ายนามสกุลที่ใช้มากที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย
คำขวัญของอำเภอ "เทียนพรรษาเลิศล้ำ เมืองต่ำปราสาทหิน ถิ่นข้าวมะลิหอม ปลาจ่อมรสดี ร้อยพันปักษี คนมีน้ำใจงาม" (วิกิพีเดีย)
เรื่องและภาพโดย goodysite
www.goodysite.com