ทริป "สุโขทัย" ครั้งนี้ ก็เพื่อมาเยือน "อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย"
หลังจากที่มาเมื่อนานมากแล้ว
"อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" ยังคงงดงาม มีมนต์ขลัง มนต์เสน่ห์อยู่เช่นเคย
"พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยผู้มีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่และทรงมีพระปรีชาสามารถนานัปการ อาทิ การประดิษฐ์อักษรไทย การปกครองแบบพ่อปกครองลูก บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข
และอุดมสมบูรณ์ กรมศิลปกรเป็นหน่วยงานควบคุมการออกแบบ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เป็นประธานในพิธิวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512
(วิกิพีเดีย) อ่านเพิ่มเติม "คลิก"
ลักษณะพระบรมรูป
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ขนาดเท่าพระแท่นจริงยาว 4 เมตร กว้าง 2.88 เมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือสมุดไทยอันหมายถึงสรรพวิทยาการต่าง ๆ
ที่พระองค์ทรงรอบรู้ พระหัตถ์ซ้ายแสดงลักษณะทรงสั่งสอนพสกนิกรหรือขณะออกว่าราชการ พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ขนาดพระบรมรูป 2 เท่าพระองค์จริง
เฉพาะพระองค์สูง 3 เมตร หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาดน้ำหนักประมาณ 3 ตัน ลักษณะพระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงว่า
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม และเฉียบขาด เครื่องฉลองพระองค์และศิราภรณ์ยึดถือลักษณะจากเทวรูปของศิลปสมัยสุโขทัย ผู้ปั้นหุ่น
พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ นายสนั่น ศิลากรณ์ นายช่างเอกของกรมศิลปากรซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีฝีมือเป็นเยี่ยมและเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร (ข้อมูลเว็บจังหวัดสุโขทัย อ่านเพิ่มเติม "คลิก")
เราลูกพ่อขุนฯ
มีความรัก ความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
"อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย"
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจ
อยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18–19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า)
อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ
12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
งเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร
มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ
อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาใน พ.ศ. 2519
โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง] ยูเนสโกได้ประกาศให้
อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร"
(วิกิพีเดีย อ่านเพิ่มเติม "คลิก")
"อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชาวไทย ในยุคอดีต ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ทั้งเรื่องของภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทย
เรื่องราวของ "พระพุทธศาสนา" ที่เป็นหลักธรรมประจำใจของคนไทย
"อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย"
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64210
โทรศัพท์ 055697241
แผนที่ "คลิก"
เรื่องและภาพโดย patarin_b
www.goodysite.com